แนวหน้าชุดกำลังรบทั้งไทยและกัมพูชาของ 2 ประเทศ ต่างจับตากันแบบวินาทีไม่คลาดสายตา หลังทั้ง 2 ฝ่ายประชิดชายแดน ขนอาวุธหนักซ้อมรบกันอย่างจริงจัง ถึงแม้จะเป็นฤดูการซ้อมรบของแต่ละประเทศก็ตาม ถือเป็นการข่มขวัญแสดงแสนยานุภาพทางการทหาร ที่ต่างฝ่ายต่างพร้อมปกป้องอธิปไตย
แต่ถึงแม้กำลังทางการรบใครจะเหนือกว่าหรือไม่นั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ แต่ครั้งนี้ทางกัมพูชากลับเล่นบทการเมืองนำการทหาร ที่ยื่นร้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ให้ชี้ชะตาปมขอบเขตพื้นที่รอบปราสาทอีกครั้งแบบขอตัวเลขชัด ๆ ใหม่ ( กัมพูชายื่นขอตีความคำตัดสินปี 2505 )
เขาพระวิหาร
นั่นจึงทำให้ไทย ต้องเท้าความสรุปความเป็นมาตั้งแต่เริ่มต้นคดีเมื่อปี 2502 ที่ทางกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องต่อศาลโลกในเรื่องสิทธิการครอบครองปราสาทพระวิหาร ตลอดจนการยื่นขอตีความคำตัดสินเดิมเมื่อปี 2554
ส่วนประเด็นเรื่อง vicinity ซึ่งแปลว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียง เป็นเพื่อนบ้านอยู่ติดกัน ทหารไทยตั้งฐานอยู่ใกล้กับปราสาทพระวิหาร คำตัดสินของศาลเมื่อปี 2505 ศาลเคยให้เราถอนทหาร ตำรวจ ออกจากตัวปราสาทและพื้นที่ใกล้เคียง เราก็ทำตามแล้ว และทางกัมพูชาก็ไม่ได้โต้แย้ง แต่ทางกัมพูชาต้องการให้ศาลชี้ว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตามแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งศาลไม่ได้ชี้ ชี้แต่ตัวปราสาทให้เป็นของกัมพูชา
ดังนั้นกรอบแนวทางการต่อสู้คดีของไทย จึงตั้งไว้ 4 ข้อ ได้แก่
1. การยืนยันว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาไม่ใช่คำขอตีความคำตัดสินเดิม แต่เป็นคำฟ้องคดีใหม่ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว ดังนั้นศาลโลกจึงไม่มีอำนาจตีความ แต่ที่ฝ่ายไทยจำเป็นต้องเข้าให้การในศาลโลกก็เพื่อไม่ให้ศาลโลกฟังความจากกัมพูชาฝ่ายเดียว
2. ที่ผ่านมาฝ่ายไทยและกัมพูชาไม่เคยมีข้อขัดแย้งเรื่องพื้นที่ใกล้เคียงบริเวณรอบปราสาทประวิหาร ดังนั้นศาลโลกจึงไม่ต้องตีความ
3. การชี้ให้ศาลเห็นว่าคำร้องของฝ่ายกัมพูชาเป็นเรื่องเดิมที่ศาลเคยปฏิเสธมาแล้วในการตัดสินเมื่อปี 2505 ทั้งในเรื่องเขตแดนและแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งเป็นเหมือนการอุทธรณ์แฝงมาในรูปของการขอตีความ และ
4. การอ้างสิทธิทับซ้อนบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารของฝ่ายกัมพูชา ไม่มีความเชื่อมโยงกับคดี เพราะเป็นเรื่องที่เกิดใหม่ภายหลังจากการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวของกัมพูชา
ซึ่งควรที่จะใช้ช่องทางดำเนินการภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (เจบีซี) ไทย-กัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกปี พ.ศ. 2543 หรือเอ็มโอยู 2543
ซึ่งการให้การทางวาจาต่อศาลศาลโลก ระหว่างวันที่ 15-19 เม.ย.นี้นั้น ไทยจะมีทีมทนาย 4 คน ทั้งต่างชาติและไทย ที่จะทำหน้าที่ในการแถลงระหว่างการให้การ ซึ่งจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
โดยทางศาลโลกจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บแคมตลอดการแถลงด้วยวาจาทั้ง 4 วัน อีกทั้ง จะมีการถ่ายทอดมายังศูนย์ข่าวของกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมล่ามผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาในการแปล เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและถูกต้องของข้อมูล
นอกจากนี้ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทนคณะดำเนินการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารฝ่ายไทย จะเป็นผู้สรุปสถานการณ์ของแต่ละวันถ่ายทอดมายังประเทศไทยภายหลังจากขั้นตอนในศาลของทุกวัน
ขณะที่ รายละเอียดในวันที่ 15 เม.ย.นั้น ผู้แทนฝ่ายกัมพูชาจะแถลงด้วยวาจา เป็นเวลา 4 ชั่วโมง 30 นาที วันที่ 16 ม.ย.ไม่มีการแถลง จากนั้นในวันที่ 17 เม.ย.ฝ่ายไทยแถลงโต้แย้งด้วยวาจาเป็นเวลา 4 ชั่วโมง 30 นาที
และในวันที่ 18 เม.ย. ฝ่ายกัมพูชาแถลงปิดคดีด้วยวาจา 2 ชั่วโมง ก่อนที่ฝ่ายไทยจะแถลงปิดคดีด้วยวาจา 2 ชั่วโมงในวันที่ 19 เม.ย. จากนั้นคาดว่าไม่เกินปลายปี ช่วงระหว่างเดือน กันยายนถึง ตุลาคม 2556 จะมีคำพิพากษา ระหว่าง 2 ประเทศ
สำหรับคณะที่ปรึกษากฎหมาย (ทนาย) ระหว่างประเทศ (ชาวต่างชาติ) ของฝ่ายไทย 3 คน ได้แก่
ศ.เจมส์ ครอว์ฟอร์ด อาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศ ผอ.ศูนย์วิจัยกฎหมาย
ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ สมาชิกศาลประจำอนุญาโตตุลาการ และทนายความของรัฐบาลนิวซีแลนด์
ศ.อลังเปลเล่ต์ เป็นอาจารย์สอนกฎหมายระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยปารีส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น